เคล็ดลับการขายคอร์สออนไลน์ให้ปัง!

ไขข้อข้องใจ เคล็ดลับขายคอร์สออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

การขายคอร์สออนไลน์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป มีหลักการ และวิธีง่าย ๆ 5 ข้อ ตามนี้เลย


1.Target หรือลูกค้าของคุณอยู่ที่ไหน

ศึกษาว่ากลุ่มลูกค้าของคุณอยู่ที่ไหน ในที่นี้คือ หาว่าเขาคือใคร ชอบอะไร มีงานอดิเรกอะไร ใช้สื่อโซเชียลมีเดียไหน โดยให้โฆษณา หรือคอร์สของคุณไปอยู่ในที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น Target ของคุณเป็นวัยรุ่น ช่วงอายุประมาณ 15-22 ปี ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย Facebook และ Instagram เป็นหลัก ชอบอยู่ในย่านห้างสรรพสินค้า ตึกติวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็ต้องให้โฆษณาของคอร์สไปแสดงในที่ที่ลูกค้าอยู่ทั้ง Online และ Offline โดยการ Boost Post บน Online ในช่องทาง Facebook และ Instagram และ ในช่องทาง Offline โดยมีการติด Poster หรือออกสื่อ OOH ต่าง ๆ ตามสถานที่ที่กลุ่มลูกค้าชอบไป ก็จะทำให้คอร์สเรียนของคุณปรากฎกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น


2. การตั้งราคาให้โดนใจลูกค้า

- กำหนดราคาด้วยเลขเชิงจิตวิทยา : เช่นการตั้งราคาที่ 1500, 1900, 1990, 2500, 2990 เป็นต้น หลีกเลี่ยงตัวเลขกลม ๆ เช่น 3000, 4000 เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่ามีราคาที่สูง

- กลยุทธ์แนวระดับราคา : สามารถตั้งตัวลวงของระดับราคาได้ทั้งในกรณีที่เป็นตัวลวงที่สูงและต่ำกว่าเช่น

1. ในกรณีตัวลวงสูงกว่า : การตั้งราคาคอร์ส A มีเนื้อหาในบทเรียน 1-3 และ ส่วนพิเศษเพิ่มเติมเป็นไฟล์เสียง ไว้ที่ 3,500 บาท และคอร์ส B ซึ่งมีเนื้อหาในบทเรียน 1-3 เหมือนกัน แต่ไม่มีในส่วนพิเศษไป โดยตั้งราคาไว้ที่ 2,700 บาท หากอยากเน้นขายที่คอร์ส B สามารถขึ้นคอร์ส A ให้ลูกค้าเห็นก่อน และถัดมาสามารถเสนอราคาคอร์ส B หากเปรียบเทียบราคาลูกค้าจะรู้สึกว่าแบบ B คุ้มค่า มากกว่า และตัดสินใจซื้อได้เร็ว

2. ในกรณีตัวลวงต่ำกว่า : การตั้งราคาคอร์สที่ใกล้เคียงกัน โดยต่างกันไม่มาก เช่น ต่างกันแค่ 100-200 บาท แต่ไฟล์ได้ Slide เพิ่มเติม ในคอร์สที่มีราคาสูงกว่า เมื่อลูกค้าเปรียบเทียบก็จะเห็นว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยก็จะเลือกซื้อคอร์สที่มีราคาสูงกว่า

- กลยุทธ์ราคาเหยื่อล่อ : สามารถตั้งราคาล่อเหยื่อโดยให้ราคาต่ำกว่าปกติหรือต่ำกว่าคู่แข่ง แต่มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าเรียน หรือจำกัดเวลาในการสมัคร จะได้ประโยชน์ในทางการตลาดด้วย และหากมีผู้สนใจแต่เต็มจำนวนหรือเลยกำหนดแล้วก็จะสามารถขายในราคาปกติต่อได้

- กำหนดราคาสำหรับการซื้อล่วงหน้า : สามารถกำหนดราคาพิเศษสำหรับผู้ที่ซื้อคอร์สล่วงหน้าได้เช่นการซื้อรายเดือนหรือรายปี ทำให้เราสามารถคาดการณ์ปริมาณผู้เข้าชม และทราบรายได้ล่วงหน้าได้ก่อน จนไปถึงสามารถประมาณการณ์การผลิตคอร์สถัดไปได้อย่างถูกต้อง

- กำหนดราคาเป็นแพ็กเกจ : กำหนดราคาคอร์สเป็นแพ๊กเกจ เช่น หากจับคู่คอร์สจะถูกกว่า หรือ ซื้อหลายคอร์สถูกกว่าซื้อแยกเป็นต้น


 3. ใช่ช่องทางติดต่อลูกค้าให้ถูกต้อง

ใช้ช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับประโยชน์ของแต่ละช่องทาง อาทิเช่น

1. Facebook Page เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์คอร์สเรียนต่าง ๆ หรือโปรโมชั่น โดยเป็นช่องทางที่มีความสำคัญตั้งแต่ระยะแรกเริ่มในการโปรโมทเนื่องจากเป็นช่องทางที่มีผู้ใช้ที่แพร่หลายเป็นจำนวนมาก อาจจะเพิ่มการ Boost Post เข้าไปโดยที่จะถึงผู้คนได้จำนวนมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนเป็นการดึง Awareness ที่ดีในช่วงเริ่มต้น

2. Instagram หรือ IG เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ที่ดีอีกช่องทางหนึ่ง แต่จะเน้นไปที่รูปภาพมากกว่าเนื้อหาข้อความ และจะเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นมากกว่ากลุ่มวัยอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นต่าง ๆ หรือภาพคำคม ที่ได้จากผู้เรียนในคอร์สเรียน โดยต้องเน้นในภาพมีความสวยงามสามารถเข้าถึงและอ่านได้ง่าย ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้าง Awaewness ได้เป็นอย่างดี

3. Line@ จะเป็นช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า แบบ One on One ที่ดี ทั้งนี้ลูกค้ามีความสะดวกใจที่จะพูดคุยสื่อสารกันโดยตรงมากกว่าช่องทางใน Facebook หรือ IG ที่จะเป็นช่องทาง Social ส่วนตัวที่จะมีข้อมูลอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย ถือเป็นช่องทางที่สร้าง Engagement ได้เป็นอย่างดีอีกช่องทางหนึ่ง และทั้งนี้ในช่องทาง Line@ ยังเป็นช่องทางที่สามารถประชาสัมพันธ์ลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มและถูกจุดอีกด้วย


4. มีตัวอย่างให้รับชมก่อนตัดสินใจ

การมีตัวอย่างในการรับชมคอร์สเรียนก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อถือเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างคอร์สเรียนออนไลน์เลยทีเดียว หากแต่ตัวอย่างในการรับชมจะเป็นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การแนะนำตัวผู้สอน , การแนะนำเนื้อหาเบื้องต้น , ตัวอย่างคอร์สเรียนตอนที่ 1 หรือเปิดให้รับชมตัวอย่างของบทเรียนได้เป็นตอน ๆ โดยเนื้อหาทำได้ทั้งที่เป็นคอร์สเรียนปกติที่จะทำการสอน หรือเนื้อหาเป็นผลกระทบ ผลพลอยได้ที่ลูกค้าจะได้จากการซื้อคอร์สเรียนนั้น ๆ ว่าหลังจากเรียนแล้วจะได้อะไร หรือเกิดอะไรขึ้นกับตัวผู้เรียน จะทำให้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งนี้ลูกค้าจะสามารถตัดสินใจได้จากตัวอย่าง ทั้งจากเนื้อหาที่จะสอน มุมภาพ เสียงหรือเทคนิควิธีการต่าง ๆ หากผู้สอนทำในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดีและโดนใจลูกค้าก็จะทำให้เกิดการซื้อคอร์สเรียนได้มากขึ้น


5. สร้างคอร์สบนแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย

เลือกใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับคอร์สเรียน หากต้องการมีแพตลฟอร์มของตนเอง ลำดับแรกต้องมองกลุ่มลูกค้าก่อนว่าเป็นกลุ่มไหน มีความต้องการอะไรบ้างในแพลตฟอร์มต้องมีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง ตอบโจทย์คนจำนวนเท่าไหร่ และจากนั้นค่อยมาดูที่ผู้สอนต้องการสิ่งไหนที่จะช่วยให้การสอนง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และเป็นช่องทางที่จะติดต่อกับผู้เรียนได้สะดวกทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ทางเพจก็ขอแนะนำแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์อย่าง FrogGenius (ขอขายของนิดนึงเนอะ) ที่จะตอบโจทย์ทั้งผู้เรียน ผู้สอน ได้อย่างครบถ้วน อาทิเช่น การรองรับการเข้าชมจากทุกอุปกรณ์ , รองรับผู้เรียนพร้อมกันจำนวนมาก , การเรียนแบบสดและรับชมย้อนหลัง , ระบบการพูดคุยกับผู้เรียนทั้งแบบกลุ่มและตัวต่อตัว , ออกประกาศนียบัตรได้ พร้อมทั้งระบบหลังบ้านที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สอนหรือผู้ดูแล และที่สำคัญระบบชำระเงินที่สะดวกหลากหลายช่องทางทำให้ได้รับรายได้ถึงผู้สอนได้โดยตรง ทั้งนี้ยังการันตีจากผู้ใช้งานองค์กรระดับประเทศ อาทิเช่น SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , NIA สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ , FVS Group เป็นต้น

สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ อย่าลืมทำตาม 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ รับรองปังสุด ๆ หรือหากมีส่วนไหนต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ 02-412-8880 , 083-885-2289 หรือ info@frogdigital.co

 

 

Related Article