ในบริบททางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร อย่างไรก็ตาม รูปแบบการฝึกอบรมแบบดั้งเดิมที่เน้นการบรรยายเพียงอย่างเดียว อาจมีข้อจำกัดในการตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง
ด้วยเหตุนี้ การปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้จริงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง Active Learning จึงเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนอย่างแข็งขัน ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง พร้อมสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
ดังนั้น เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจปัจจุบัน บทความนี้จะนำเสนอภาพรวมของกระบวนการสอนแบบ Active Learning และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำแนวทางดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร
กระบวนการสอนแบบ Active Learning คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้เรียนจากการเป็นผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว ให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในกระบวนการเรียนรู้ อาทิ การอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเพื่อสรุปทบทวน การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ พร้อมทั้งการตั้งคำถามสำหรับการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ รวมถึงทักษะ นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการ ยังสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพในการสอนได้ดียิ่งขึ้น
Active learning ยังให้ความสำคัญกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายหลักไปเป็น ผู้เอื้ออำนวย (Facilitator) ที่ทำหน้าที่ในการแนะนำ ให้คำปรึกษา พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ในขณะที่ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้นำสิ่งที่เรียนรู้ มาเชื่อมโยงกับประสบการณ์และแนวคิดที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการสอนแบบ Active Learning มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของผู้เรียน ส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ นำแนวทางการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง แทนที่จะเป็นเพียงผู้รับฟังเพียงอย่างเดียว ซึ่งการลงมือปฏิบัติจริง การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การอภิปราย การทำงานร่วมกันนี้เอง ช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิม สร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้นานยิ่งขึ้น เพราะความรู้ไม่ได้ถูกป้อนให้โดยตรง แต่เกิดจากการคิดและค้นพบด้วยตนเอง
กระบวนการลงมือปฏิบัติจริงใน Active Learning เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ความสามารถดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การปรับปรุงกระบวนการทำงาน หรือการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ
นอกเหนือจากการส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและการแก้ปัญหาแล้ว Active Learning ยังสนับสนุนการทำงานเป็นทีม รวมถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กร การมีทักษะเหล่านี้จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งยังส่งเสริมบรรยากาศการทำงานเชิงบวก
ความสามารถในการแก้ไข รับมือกับปัญหาเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงาน ซึ่งมักเผชิญความท้าทาย สถานการณ์ใหม่ ๆ เสมอ การเรียนรู้ผ่าน Active Learning ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง การแก้ไขปัญหาโดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเผชิญสถานการณ์ที่แตกต่าง แก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ดียิ่งขึ้น
กระบวนการสอนแบบ Active Learning ปลูกฝังทักษะการทำงานเป็นทีมที่ดีผ่านกิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนร่วมมือแก้ไขปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันความรู้ ซึ่งการทำงานร่วมกันนี้ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการสื่อสาร การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น การประนีประนอม และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานเป็นทีมในสภาพแวดล้อมจริง
Active Learning คือรูปแบบการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยตรงและได้รับประสบการณ์ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การทดลอง ซึ่งนำไปสู่การกำหนดรูปแบบการสอนที่หลากหลาย โดยกรอบแนวคิดที่ได้รับความนิยมคือ 5Es ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้รับฟังเพียงอย่างเดียว ให้เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง เชื่อมโยงประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ กับเนื้อหาบทเรียน การสร้างบรรยากาศที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระโดยปราศจากการตัดสิน จะช่วยส่งเสริมความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
ในขั้นนี้ ผู้เรียนจะได้เผชิญกับข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อสำรวจทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างอิสระ เป็นโอกาสสำคัญในการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ พิจารณาแหล่งข้อมูล รวมถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่ค้นพบ ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของเนื้อหา ทั้งยังทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น
ขั้นตอนนี้เน้นการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน รวมถึงระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงมุมมองที่หลากหลาย เมื่อนำความคิดเห็นต่าง ๆ มารวบรวมวิเคราะห์ร่วมกัน จะนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ที่ชัดเจนและครอบคลุม
นำข้อมูลความรู้ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ ขยายขอบเขตไปสู่ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเชื่อมโยงความรู้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดความเข้าใจ ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบว่าได้รับความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหามากน้อยเพียงใด รวมถึงประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการสอน นำไปสู่การวางแผนเพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับกับบทเรียนอื่น ๆ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
การเรียนรู้แบบ Active Learning มีวิธีการที่หลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้อย่างยืดหยุ่น เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เรียนรู้และทดลองอย่างเต็มศักยภาพ โดยไม่จำกัดอยู่เพียงในห้องฝึกอบรมแบบดั้งเดิม หรือเฉพาะเจาะจงกับระดับการศึกษาใด ๆ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของกระบวนการสอนแบบ Active Learning ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้
ผู้ฝึกสอนตั้งคำถามหรือประเด็นให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบหรือแนวทางด้วยตนเอง จากนั้นให้ผู้เรียนจับคู่กับเพื่อนร่วมชั้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอผลลัพธ์ที่ได้ร่วมกัน วิธีนี้ช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น รวมถึงพัฒนาทักษะการสื่อสารและความกล้าในการแสดงความคิดเห็น
เริ่มต้นด้วยการนำเสนอสถานการณ์จำลองปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทการทำงานจริง หรือเป็นประเด็นที่ผู้เรียนสนใจ จากนั้นกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา วิธีนี้ช่วยพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น สร้างความสามารถในการปรับตัวเพื่อเอาชนะอุปสรรค
นำเสนอเรื่องราวหรือเหตุการณ์จริง (อาจเป็นคลิปวิดีโอ ข่าวสาร หรือสถานการณ์สมมติ) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนรู้ จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แสดงความคิดเห็นผ่านการอภิปราย การสรุปประเด็น หรือการนำเสนอรายงานกลุ่ม วิธีนี้ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์ปัญหาในมุมมองที่หลากหลาย
สร้างสถานการณ์จำลอง กำหนดบทบาทให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อให้เข้าใจความคิด มุมมอง ความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะการสื่อสาร การแสดงออก รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ผู้ฝึกสอนจะมอบหมายหัวข้อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับงานหรือความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าข้อมูล วางแผน จากนั้นลงมือปฏิบัติจริงเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน วิธีนี้เป็นการจำลองประสบการณ์การทำงานจริง ตั้งแต่การวางแผน การทำงานร่วมกัน การแสดงภาวะผู้นำ ผู้ตาม รวมถึงการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี ทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรืออธิบายให้เพื่อนร่วมชั้นที่ยังไม่เข้าใจ โดยผู้ฝึกสอนยังคงมีบทบาทในการเตรียมเนื้อหา กิจกรรม ให้คำปรึกษา และประเมินผลการเรียนรู้ วิธีนี้ช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพิ่มความเข้าใจผ่านการถามตอบกันเอง รวมถึงเสริมสร้างทักษะการสื่อสารรวมถึงการทำงานร่วมกันในกลุ่มผู้เรียน
โดยสรุปแล้ว กระบวนการสอนแบบ Active Learning คือแนวทางที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรในยุคปัจจุบัน ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การทดลองแก้ไขด้วยตนเอง รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เรียนด้วยกัน
Active learning จึงเป็นหนึ่งในรูปแบบการสอน ที่จะช่วยยกระดับศักยภาพของบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงความน่าสนใจให้กับคอร์สเรียนของผู้สอน อีกทั้งยังง่ายต่อการให้พนักงานหรือผู้เรียนนำไปปรับใช้ในการทำงานจริง ซึ่งการฝึกอบรมให้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี พร้อมเนื้อหาที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันกับยุคสมัยอยู่เสมอ
FROG GENIUS ในฐานะ Learning Solution Expert นำเสนอระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ หรือ ระบบ LMS (Learning Management System) ที่ครอบคลุม ซึ่งเป็นมากกว่า e-Learning Platform ด้วยการออกแบบบนพื้นฐานของหลักการ Active Learning พร้อมด้วยเครื่องมือที่ช่วยสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกหลากหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นระบบการสอนสด (Live Session) ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบกับผู้สอนได้ทันที กระดานสนทนาสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่องทางการถาม-ตอบข้อสงสัยที่จะช่วยให้การเรียนรู้เชิงรุกเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวที่องค์กรสามารถบริหารจัดการได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การสร้างเนื้อหา การติดตามความก้าวหน้า ไปจนถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน