ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น การพึ่งพาระบบออนไลน์ในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะอยู่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ตาม เช่นเดียวกับการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหารายวิชาได้โดยไม่ต้องเข้าห้องเรียน หรือสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะหลังการระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งเร่งให้การเรียนรู้แบบดั้งเดิมต้องปรับตัวสู่รูปแบบออนไลน์อย่างรวดเร็ว ในฐานะช่องทางการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตอบโจทย์ฝ่ายต่าง ๆ มากที่สุด
ปัจจุบัน การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ยังคงมีความสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในฐานะทางเลือกการเรียนรู้อันสะดวกสบาย ยืดหยุ่น ประหยัดเวลา อีกทั้งคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว เพื่อการพัฒนาความรู้, ทักษะ และศักยภาพของผู้เรียน ด้วยเหตุนี้ FROG GENIUS จะพามาทำความเข้าใจถึงบทบาทรวมถึงความสำคัญ ระบบ e-Learning ต่อระบบการศึกษา ซึ่งรากฐานการเรียนรู้แห่งอนาคต
e-Learning System หรือ ระบบ e-Learning คือ รูปแบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปรียบได้กับการนำห้องเรียนมาจำลองไว้บนโลกออนไลน์ โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ โดยเนื้อหาและวิชาต่าง ๆ จะถูกนำขึ้นไปเก็บไว้บนแหล่งจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ (Cloud Storage) ให้ผู้เรียนได้เข้าไปศึกษาจากองค์ความรู้ที่สนใจ
ประโยชน์สำคัญของระบบอีเลิร์นนิง (e-Learning) คือการปลดล็อกข้อจำกัดของการเรียนรู้ จากเดิมต้องสมัครหรือลงทะเบียนห้องเรียนตามสถาบันศึกษา ให้เข้าถึงจากที่ไหนก็ได้ผ่านอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังเลือกเนื้อหาวิชาและช่วงเวลาในการเรียนได้อย่างอิสระ รวมถึงสามารถกลับมาเรียนรู้ใหม่ได้ทุกเมื่อ ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
โดยภาคส่วนผู้ได้รับประโยชน์จากระบบ e-Learning มากที่สุด คือองค์กรต่าง ๆ และสถานศึกษา
การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรผ่านระบบ e-Learning ช่วยให้สามารถควบคุมงบประมาณในส่วนนี้ได้ เพราะไม่จำเป็นต้องจัดการสอนหรือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แบบ On-Site โดยพนักงานเข้าถึงเนื้อหาด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา ตามจังหวะของตัวบุคลากรรายนั้น ๆ (Self-Paced Learning) นอกจากนี้ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development: HRD) ยังสามารถวัดผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ได้แบบ Realtime ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร (Learning Organization)
e-Learning System ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสถานศึกษา ผ่านการสร้างโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงการเรียนรู้ได้แม้จะอยู่ไกลจากสถานศึกษาก็ตาม โดยสามารถมีส่วนร่วมในบทเรียนต่าง ๆ ตามหลักการเรียนแบบ Active Learning เช่น การทำแบบฝึกหัดออนไลน์ หรือการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย อีกทั้งครูผู้สอนสามารถจัดบทเรียน, ตรวจการบ้าน และให้คะแนนง่ายขึ้น พร้อมทั้งยังกลับมาทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
การสร้างหลักสูตร: ต้องมีความเรียบง่ายในการใช้งาน พร้อมความยืดหยุ่นในการปรับแต่ง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอันหลากหลายของผู้สอน ได้แก่
การจัดการเนื้อหา: เนื้อหาการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลมักอยู่ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ดังนั้น ระบบ e-Learning ที่มีคุณภาพควรสามารถรองรับ พร้อมสนับสนุนการใช้งานสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น
การจัดตารางเวลาและกำหนดการ: เพื่อรองรับความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ตามช่วงเวลาตามความสะดวกของผู้เรียน ระบบควรมีความสามารถในการกำหนดระยะเวลาการเปิด-ปิดของกิจกรรมการเรียนรู้ อาทิ
เครื่องมือสื่อสาร: ควรรองรับช่องทางการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันหลากหลาย เพื่อให้ผู้สอนสามารถเลือกใช้ให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนซึ่งวางแผนไว้ เช่น
การทำงานร่วมกัน: เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ระบบควรมีฟังก์ชันสำหรับการทำงานกลุ่ม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ ได้แก่
การสร้างแบบทดสอบ: ระบบควรมีฟีเจอร์สำหรับการวัดผลซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ อาทิ
การติดตามความคืบหน้า: ควรมีเครื่องมือสำหรับการประเมินผลได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อสะท้อนพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละราย โดยครอบคลุมตั้งแต่
การรายงานผล: เพื่อให้ผู้สอนสามารถติดตามภาพรวมของกระบวนการเรียนรู้ ระบบควรรองรับฟีเจอร์การสร้างรายงานผลการเรียนรู้ สรุปข้อมูลได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ประกอบด้วย
ใช้งานง่าย: เพื่อให้การใช้งานระบบ e-Learning เป็นไปอย่างราบรื่น เป็นมิตรกับผู้ใช้ การออกแบบควรเน้นความเรียบง่าย ทั้งในด้านอินเทอร์เฟซ (UI) และประสบการณ์ใช้งาน (UX) เช่น
การเข้าถึง: ระบบควรรองรับการเข้าถึงอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะผ่านอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มใด เช่น
Gamification: เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ระบบควรรองรับการแปลงเนื้อหาให้อยู่รูปแบบเกม พร้อมฟีเจอร์สะสมความก้าวหน้า เช่น ระบบสะสมแต้ม, ป้ายความสำเร็จ (Badge), ตารางอันดับ (Leaderboard) ไปจนถึงค่าประสบการณ์ (EXP)
Personalization: ระบบควรเปิดโอกาสให้ผู้สอนปรับแต่งทั้งรูปลักษณ์และเนื้อหาภายใน เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน อีกทั้งเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน เช่น
Integration: ควรรองรับการเชื่อมต่อกับส่วนเสริมภายนอก (Third-party Extensions) เพื่อขยายขีดความสามารถของระบบ และสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น
Security: เมื่อมีการอัปโหลดเนื้อหาหรือข้อมูลเข้าสู่ระบบ ระบบควรมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและเนื้อหาการเรียนรู้จากความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น
จะเห็นได้ว่า ระบบ e-Learning System ไม่ใช่เพียงแค่ทางเลือก แต่คือการยกระดับกระบวนการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดข้อจำกัดของการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ทั้งในแง่ของเวลา สถานที่ และทรัพยากร พร้อมเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนอันซับซ้อน ให้กลายเป็นประสบการณ์อันเรียบง่ายแต่ทรงพลัง อีกทั้งสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อให้การเรียนการสอนผ่าน e-Learning Platform ตอบสนองความต้องการของทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการหลักสูตร การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การประเมินผล การติดตามความคืบหน้า และประสบการณ์ผู้ใช้งาน ทุกองค์ประกอบสำคัญเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมไว้ใน ระบบ LMS (Learning Management System) ของ FROG GENIUS ผู้เชี่ยวชาญด้าน All-in-one Learning Solution ที่ไม่ใช่แค่เครื่องมือ แต่คือนวัตกรรมซึ่งพลิกโฉมการเรียนรู้ของไทย ตอบโจทย์ทั้งภาคองค์กรและสถาบันการศึกษา โดยเน้นความทันสมัย ยืดหยุ่น คุ้มค่าต่อการลงทุน พร้อมฟังก์ชันสำคัญ ได้แก่
ทั้งหมดนี้คือกุญแจสำคัญในการยกระดับศักยภาพของบุคลากร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกธุรกิจในอนาคต